การเลี้ยงและการจัดการโคเล็ก
การเลี้ยงและการจัดการโคเล็ก หรือลูกโค มีรายละเอียดปลีกย่อยมากพอสมควร เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย จะแบ่งโคเล็กหรือลูกโคเป็น 4 ระยะ คือ
1.ลูกโคแรกเกิด
2.ลูกโคอายุ 1 - 55 วัน
3.ลูกโคอายุ 56 - 120 วัน
4.ลูกโคอายุ 121 - 180 วัน
1.ลูกโคแรกเกิด
เมื่อลูกโคคลอดออกมา โดยธรรมชาติแล้วแม่โคจะเลียลูก ซึ่งการที่แม่โคเลียลูก เป็นการกระตุ้นระบบต่าง ๆ ของลูกโคให้เริ่มทำงาน เช่น ระบบการหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ การเลียลูกของแม่ ยังเป็นการกระตุ้นให้ตัวของแม่โคเอง หลั่งฮอร์โมนออกซี่โตซิน(Oxytocin) ออกมาในกระแสโลหิต ฮอร์โมนออกซี่โตซิน(Oxytocin) ที่หลั่งออกมานี้ จะกระตุ้นให้แม่โคเกิดการหลั่งน้ำนม และขับรก ซึ่งจะช่วยตัวแม่โคเองไม่ให้เกิดปัญหารกค้าง
ภาพ แม่โคเลียลูกหลังคลอด
หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้ว ลูกโคจะพยายามลุกขึ้นยืน ซึ่งโดยทั่วไปลูกโคจะใช้ความพยายามประมาณ 2-3 นาที ก็สามารถยืนได้ เมื่อลูกโคยืนได้แล้วจะเดินหาเต้านมเพื่อดูดนมซึ่งเป็นนมน้ำเหลือง
สิ่งที่มักปฏิบัติซึ่งไม่ฝืนกับธรรมชาติ และเป็นการช่วยลูกโคคือ หลังจากลูกโคคลอดออกมา สิ่งแรกที่ผู้เลี้ยงควรทำคือ พยายามช่วยให้ลูกโคหายใจ โดยการใช้ผ้าแห้งหรือฟางเช็ดตามตัวลูกโค จะเป็นการกระตุ้นการหายใจของลูกโค แต่ไม่ควรเช็ดจนแห้ง ควรปล่อยให้แม่โคได้เลียลูกบ้าง เนื่องจากเมื่อแม่โคเลียลูก จะเป็นการกระตุ้นให้แม่โคหลั่งฮอร์โมนออกซี่โตซิน(Oxytocin) ทำให้มีการหลั่งน้ำนม และรกหลุดออกจากมดลูกได้ง่าย ดังได้กล่าวมาแล้ว
จากนั้นควรสังเกตในรูจมูกของลูกโคและเปิดช่องปากดูว่ามีเมือกอุดอยู่หรือไม่ ถ้ามีต้องรีบใช้ลูกยางดูดออก เพื่อให้ลูกโคหายใจได้สะดวก จากนั้น ควรทำความสะอาดสายสะดือ โดยปกติเมื่อลูกโคคลอดออกจากท้องแม่ สายสะดือมักขาด ลูกโคบางตัว สายสะดือจะเหลือยาว บางตัวสายสะดือจะเหลือสั้น ถ้าสายสะดือเหลือยาวเกินกว่า 2 นิ้ว ให้ใช้กรรไกรที่สะอาด ตัดสายสะดือให้เหลือยาวไม่เกิน 2 นิ้ว และทำความสะอาดสายสะดือ โดยการเปิดสายสะดือออกให้เป็นท่อ แล้วเอาทิงเจอร์ไอโอดีนเทลงไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามสายสะดือ เป็นการป้องกันสะดืออักเสบ และไม่ควรผูกสายสะดือ เพื่อน้ำเหลือง หรือของเหลวต่าง ๆ ที่คั่งอยู่ในสายสะดือถูกขับออกได้ ไม่เกิดการคั่งค้างในสายสะดือ แต่ทั้งนี้ หากมีเลือดไหลจากสายสะดือและเลือดไม่หยุด หรือคอกที่ใช้เลี้ยงลูกโคสกปรก ชื้นแฉะมาก ก็จำเป็นต้องทำการมัดสายสะดือด้วยด้ายสะอาดเพื่อการห้ามเลือด หรือป้องกันเชื้อโรคเข้าไปในสายสะดือ
ภาพ เปิดปากลูกโคเพื่อกำจัดเมือกที่อุดในปาก
หลังจากนั้น แยกลูกไปเลี้ยงในคอกอนุบาล และนำแม่โคไปรีดนม น้ำนมของแม่โคหลังคลอดลูกใหม่ ๆ จะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่านมน้ำเหลือง (Colostrum) นมน้ำเหลืองจะเป็นอาหารและยาของลูกโคแรกเกิด นมน้ำเหลืองจะถูกสร้างในเต้านมของแม่โคก่อนการคลอด 2-3 วัน เพื่อเตรียมไว้ให้ลูกที่คลอดออกมาได้กิน
ภาพ ป้อนนมลูกโค
เมื่อรีดนมแม่แล้ว แบ่งนมที่รีดได้จำนวน 2 ลิตร ใส่ขวดนำไปป้อนให้ลูกโค(ขวดนมสำหรับลูกโค จะมีความจุประมาณ 2 ลิตร ซึ่งหาซื้อได้ตามสหกรณ์โคนมทั่วไป) ส่วนนมที่เหลือใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น แช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็ง จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายเดือน หากมีลูกโคเกิดใหม่และแม่ตายก่อนได้กินนมน้ำเหลือง สามารถใช้นมน้ำเหลืองที่แช่แข็งนี้ นำมาละลายโดยแช่ในน้ำอุ่น ใช้ป้อนลูกโคเกิดใหม่ตัวอื่น ๆ ได้ การละลายนมน้ำเหลืองแช่แข็งอย่าใช้การต้ม หรืออย่าใช้ความร้อนสูง ๆ เพราะความร้อนสูง จะทำลายภูมิคุ้มกันที่เป็นโปรตีนในน้ำนม
องค์ประกอบของนมน้ำเหลือง จะไม่เหมือนกับนมธรรมชาติ ลูกโคควรได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ทันทีภายหลังคลอดจำนวน 2-3.5 ลิตร และ 8 ชั่วโมงต่อมาอีก 2-3.5 ลิตร ถ้าลูกโคแรกคลอดไม่ได้รับนมน้ำเหลือง จะมีร่างกายอ่อนแอ และตายในที่สุด เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่ลูกโคคลอดก่อนกำหนด นมน้ำเหลืองที่รีดได้ จะข้นมากซึ่งลูกโคจะไม่ยอมกิน แก้ไขได้โดยละลายนมน้ำเหลืองด้วยน้ำอุ่นในอัตราส่วน 1 : 1 และป้อนลูกโค
ตารางเปรียบเทียบนมน้ำเหลืองและนมปกติ
นมน้ำเหลืองจะมีวัตถุแห้งหรือของแข็งทั้งหมด(Total solid) สูงกว่านมปกติ 2-3 เท่า มีโปรตีนสูงกว่านมปกติ 4-5 เท่า และมีไวตามินและแร่ธาตุสูงกว่านมปกติโดยเฉพาะไวตามินเอและอี โปรตีนในนมน้ำเหลืองส่วนใหญ่เป็น อิมมูนโนโกลบูลิน (Immuno globulin) ซึ่งเป็นแอนติบอดี (Antibody) หลายชนิด ที่จะช่วยสร้างความต้านทานโรคแก่ร่างกายลูกโค นมน้ำเหลืองจะมีในเต้านมแม่โคเพียง 2-7 วัน หลังจากคลอดเท่านั้น หลังจากนั้นเต้านมแม่โคจะเริ่มผลิตน้ำนมปกติ
ปัจจัย 2 ประการ ที่มีผลต่อคุณภาพนมน้ำเหลือง คือ
1.ความเข้มข้นของแอนติบอดีในนมน้ำเหลือง
2.การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในนมน้ำเหลือง
นมน้ำเหลืองที่มีคุณภาพดี ควรมีแอนติบอดี หรืออิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) อย่างน้อย 50 กรัม/ลิตร และมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียน้อย
อิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ในนมน้ำเหลือง จะมีมากหรือน้อย ขึ้นกับปริมาณนมน้ำเหลือง อายุแม่โค สภาวะภูมิคุ้มกันของแม่โค อาหารที่แม่โคได้รับในช่วงดรายก่อนคลอด และพันธุ์โค
แม่โคที่ให้นมน้ำเหลืองปริมาณมาก หรือมากกว่า 8 ลิตร นมน้ำเหลืองจะมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลินจี (Immuno globulin-G) ต่ำ เนื่องจากถูกเจือจางด้วยน้ำนมในปริมาณมาก โคพันธุ์เจอร์ซี่ ให้นมน้ำเหลืองน้อยกว่าโคพันธุ์อื่น นมน้ำเหลืองของโคพันธุ์เจอร์ซี่ จึงมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) สูงกว่าโคพันธุ์อื่น หรือโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชียน เป็นโคที่ให้นมน้ำเหลืองปริมาณมากกว่าโคพันธุ์อื่น จึงมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ต่ำกว่าโคพันธุ์อื่น
อายุแม่โค ก็มีผลต่อความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) คือ แม่โคอายุมาก มักผ่านการรับหรือสัมผัสกับเชื้อต่าง ๆ มาก แม่โคก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้มาก ส่วนแม่โคอายุน้อย มักผ่านการรับหรือสัมผัสกับเชื้อต่าง ๆ น้อย แม่โคก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อย ดังนั้น หากแม่โคอายุมากกว่า นมน้ำเหลืองก็จะมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) สูงกว่า
อาหารที่ให้แม่โคในช่วงแห้งนม ก็มีผลคือ แม่โคที่ในช่วงแห้งนม หากได้รับอาหารพลังงานและโปรตีนเพียงพอ นมน้ำเหลืองจะมีคุณภาพสูงกว่าแม่โคที่ในช่วงแห้งนมได้รับอาหารพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ
ลูกโคแรกเกิด จะมี แอนติบอดี (Antibody) หรือภูมิต้านทานโรคในกระแสเลือด ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแอนติบอดีที่ต้องมี เพื่อสร้างความต้านทานโรค ดังนั้น ลูกโคควรได้รับนมน้ำเหลืองโดยเร็ว เพื่อเพิ่มแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ถ้าในกรณีที่แม่โคตายขณะคลอด ไม่มีนมน้ำเหลืองให้ลูกกินเลย ผู้เลี้ยงต้องเอานมน้ำเหลืองจากแม่อื่นที่แช่แข็งไว้มาละลายให้ลูกโคกิน หรือหากไม่มีนมน้ำเลืองที่เก็บสำรองไว้ ให้ใช้น้ำนมปกติผสมด้วยยาปฏิชีวนะและไวตามินเอละลายให้ลูกโคกิน โดยให้ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอเตตร้าไซคลิน(Chlortetracycline) วันละ 250 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วัน จนอาการลูกโคดีขึ้น เมื่ออาการของลูกโคดีขึ้นจึงหยุดยา แต่เท่าที่พบส่วนใหญ่แล้วลูกโคที่ไม่ได้กินนมน้ำเหลืองมักตายในที่สุด
ในช่วง 24 ชั่วแมงแรกหลังคลอด ลูกโคสามารถดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ผ่านผนังสำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ไม่ถูกทำลายโดยน้ำย่อยจากกระเพาะของลูกโค แต่หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว ผนังลำไส้จะไม่สามารถดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ได้อีกต่อไป น้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารของลูกโคจะเริ่มทำงาน และทำการย่อยอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ให้เสียสภาพไป
หากให้ลูกโคนมน้ำเหลืองหลังคลอด 6 ชั่วโมง ความสามารถในการดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ของลำไส้ลูกโคจะลดลง 30% และหากให้ลูกโคนมน้ำเหลืองหลังคลอด 24 ชั่วโมง ความสามารถในการดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) จะลดลงกว่า 90% แต่ทั้งนี้ ลูกโคที่รับนมน้ำเหลือง หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว อิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) จะไปเคลือบผนังลำไส้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเกาะยึดผนังลำไส้ได้ แต่อิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ต้องเคลือบผนังลำไส้ก่อนที่เชื้อแบคทีเรียจะเกาะ หากเชื้อแบคทีเรียเกาะผนังลำไส้แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์
ภาพ กราฟประสิทธิภาพการดูดซึมนมน้ำเลืองของลูกโคตามอายุ
โดยสรุป คือ ลูกโคเกิดใหม่ จะต้องได้กินนมน้ำเหลืองทันที หากล่าช้าออกไป ความสามารถในการดูดซึมนมน้ำเหลืองของลูกโคจะลดลง ลูกโคที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลืองส่วนใหญ่ตาย
2.ลูกโคอายุ 1 - 55 วัน
ลูกโคแรกเกิด จะมีน้ำหนักประมาณ 25-40 กิโลกรัม ลูกโคอายุแรกเกิดจนถึง 55 วัน เป็นช่วงที่กระเพาะหมักยังไม่ทำงาน หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นอาหารหลักของลูกโคคือน้ำนม ลูกโคควรได้รับน้ำนมจากแม่ในระยะ 7 วันแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรไม่สามารถส่งน้ำนมไปจำหน่ายได้อยู่แล้ว
-อาหารลูกโค
ในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด
ช่วง 3 วันแรก หลังคลอด ลูกโคควรได้กินนมแม่วันละ 10 % ของน้ำหนักตัว หรือ 4 ลิตร โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เช้าและเย็น มื้อเช้าจำนวน 2 ลิตร มื้อเย็นจำนวน 2 ลิตร โดยใส่ขวดนมสำหรับลูกโคแล้วนำไปป้อน
วันที่ 3-7 หลังคลอด
วันที่ 3-7 หลังคลอด ลูกโคควรได้กินนมแม่วันละ 10 % ของน้ำหนักตัว หรือ 4 ลิตร โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เช้าและเย็น มื้อเช้าจำนวน 2 ลิตร มื้อเย็นจำนวน 2 ลิตร โดยใส่อ่างหรือถังให้ลูกโคกินเพื่อเป็นการประหยัดแรงงาน
ถังนมสำหรับลูกโค จะเป็นถังลักษณะอย่างไรก็ได้ แต่ให้ง่ายกับการก้มลงกิน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ถังอลูมิเนียมปากกว้างที่ใช้รองรับน้ำนมในการรีดนมด้วยมือ แรก ๆ ลูกโคจะกินนมจากถังไม่เป็น ต้องฝึกโดยการให้ผู้เลี้ยงใช้นิ้วมือที่สะอาด 2 หรือ 3 นิ้วจุ่มลงในถังที่มีน้ำนม และเอานิ้วให้ลูกโคดูด เมื่อลูกโคดูดนิ้ว ก็ค่อย ๆ จุ่มนิ้วลงในถังนมที่มีน้ำนมอยู่ ลูกโคจะดูดนมผ่านร่องนิ้วมือ จากนั้นค่อย ๆ ดึงมือออก ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง ลูกโคจะดูดนมจากถังเองได้ ซึ่งต่อไป เวลาเลี้ยงก็เอาน้ำนมเทใส่ถังหรืออ่างตามปริมาณที่กำหนด ลูกโคจะก้มลงกินเอง
ภาพ ถังน้ำและถังนมสำหรับลูกโค
การให้นมวิธีนี้สะดวก รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ลูกโคจะต้องก้มลงดูดน้ำนมในถัง ซึ่งผิดธรรมชาติ เพราะโดยปกติการดูดนมจากเต้านม ลูกโคจะเงยหน้าดูดนม เมื่อลูกโคเงยหน้าดูดนม ร่องหลอดคอ (Esophageal groove) ของลูกโคจะห่อตัว น้ำนมจะไหลผ่านปาก หลอดอาหาร และไปถึงกระเพาะแท้(Abomasum)ได้โดยตรง ไม่ตกลงไปในกระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมัก แต่ถ้าลูกโคก้มกินนมในถัง ร่องหลอดคอจะไม่ห่อตัวหรือห่อตัวไม่สนิท ทำให้น้ำนมอาจตกค้างที่กระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมัก ซึ่งภายในกระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมักนี้ไม่มีเอ็นไซม์สำหรับย่อยน้ำนม น้ำนมที่ตกค้างในกระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมัก มักจะบูด ทำให้ลูกโคท้องเสีย แต่วิธีการให้ลูกโคกินนมจากถัง ก็ยังได้รับความนิยม เนื่องจากลงทุนน้อยและประหยัดแรงงาน แต่ก็มีบางฟาร์ม ที่ใช้ถังพลาสติกต่อท่อติดจุกนมเทียมให้ลูกโคได้ดูดกิน
ภาพ ถังนมลูกโคติดจุกนม
วันที่ 8-15 หลังคลอด
วันที่ 8 หลังคลอด จะเริ่มใช้นมเทียมให้ลูกโคกินแทนนมแม่ คือ เมื่อลูกโคกินนมแม่จนครบ 7 วัน จะสามารถลดต้นทุนค่าน้ำนมโดยให้ลูกโคกินนมเทียม แทนน้ำนมจากแม่ ซึ่งน้ำนมจากแม่โคที่รีดได้ในวันที่ 8 หลังคลอด มักจะส่งไปขายได้
นมเทียม เป็นผลพลอยได้จากการแยกเนยออกจากน้ำนม ซึ่งจะเหลือเป็นหางนม ที่ยังมีส่วนสำคัญในการเป็นอาหารของลูกโค เอาหางนมนี้ มาทำการเติมไขมัน และไวตามินรวมถึงยาปฏิชีวนะที่จำเป็น จากนั้นไปทำให้แห้ง ก็จะกลายเป็นนมผงเลี้ยงลูกโค นมผงสำหรับละลายน้ำเป็นนมเทียมใช้เลี้ยงลูกโค มีหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อ ราคาเฉลี่ยปัจจุบันประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท อัตราส่วนการละลายน้ำ คือนมผง 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 8 ลิตร จะได้นมเทียม 8 ลิตร
ภาพ ตัวอย่างนมผงเลี้ยงลูกโค
นมเทียมที่ละลายให้ลูกโคกิน ควรคำนวณอัตราส่วนการละลาย โดยละลายสำหรับพอกินในแต่ละมื้อไม่ควรผสมเผื่อมื้ออื่นล่วงหน้า เพราะจะทำให้นมเสียหรือคุณค่าทางอาหารลดลง เช่น หากใช้นมยี่ห้อที่อัตราส่วนการละลาย 1:8 ก็จะใช้นมผงเพียง 250 กรัม ละลายน้ำ 2 ลิตร สำหรับลูกโคต่อตัวต่อมื้อ ปัจจุบัน บริษัทจำหน่วยนมเทียม ได้ทำช้อนตวงนมแถมมาในถุงนมเทียมด้วย ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราส่วนในการตวงด้วยช้อนดูได้จากข้างถุง
การเตรียมน้ำนมจากนมผงเลี้ยงลูกโค ทำได้โดยการ ตวงนมเทียมใส่ถังนมของลูกโค จากนั้นเติมน้ำอุ่นครึ่งหนึ่ง ใช้ไม้คนให้ผงนมละลายจนหมด หลังจากผงนมละลายหมดแล้ว เติมน้ำลงไปจนมีปริมาตรตามที่ต้องการ นมหลังละลายแล้ว ควรมีอุณหภูมิ 39-40 องศาเซลเซียส ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิน้ำนมที่รีดได้จากเต้านมแม่โค และนมเทียมควรมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 20% ข้อควรระวังคือ นมผงจะต้องละลายน้ำจนหมด หากนมผงละลายไม่หมดจะทำให้ลูกโคท้องเสีย
องค์ประกอบของนมเทียม
หางนมผง (Skim milk powder) 78-82 %
ไขมัน จากพืชหรือสัตว์ 17-20 %
Lecithin จากถั่วเหลือง 1-2 %
เสริมแร่ธาตุและวิตะมิน
แมกนีเซี่ยม 20 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
เหล็ก 75-100 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
ทองแดง 40 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
โคบอลท์ 100 ไมโครกรัม / กิโลกรัม
สังกะสี 12 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
ไอโอดีน 120 ไมโครกรัม / กิโลกรัม
วิตะมินเอ 12,000 หน่วย / กิโลกรัม
วิตะมินดี 1,800 หน่วย / กิโลกรัม
วิตะมินอี 20 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
วิตะมินบี 12 3 ไมโครกรัม / กิโลกรัม
นมเทียมที่ดี ควรมีไขมัน 15-20 % ของน้ำหนักแห้ง และไขมันดังกล่าวควรเติม 3.3 % เลคซิทิน ก่อนผ่านการโฮโมจิไนซ์ และการผลิตเป็นนมผงควรใช้วิธีสเปร์ดราย พร้อมทั้งเสริมวิตะมิน อี เพื่อกันหืน
นอกจากใช้นมเทียมแทนน้ำนมแม่เพื่อเลี้ยงลูกโคแล้ว ยังสามารถใช้นมถั่วเหลืองเลี้ยงลูกโคได้ด้วย ในกรณีที่ขาดแคลนนมเทียม แต่การใช้นมถั่วเหลืองเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด มักพบว่าลูกโคไม่ค่อยโต
ลูกโคอายุ 8-15 วัน ควรได้รับนมเทียม วันละ 4 ลิตร โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เช้า-เย็น มื้อละ 2 ลิตร เช่นเดียวกับนมแม่
วันที่ 16-35 วันหลังคลอด
วันที่ 16 จะเริ่มให้อาหารข้นและหญ้าสดโดยเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความสามารถในการกินแต่ละวัน การให้อาหารข้นจะต้องทำการฝึกให้ลูกโคกิน ส่วนหญ้าสดลูกโคจะเคี้ยวกินเล่น สุดท้ายจะกินได้เอง
การฝึกให้กินอาหารข้น จะเริ่มจากนำอาหารข้นปริมาณเล็กน้อย ใส่ลงในถังนมที่ลูกโคกินจนน้ำนมเหลือติดก้นถัง อาหารข้นจะผสมกับน้ำนม จากนั้นป้อนให้ลูกโคกิน โดยป้อนใส่ปากทีละน้อยและบางส่วนป้ายที่สันจมูก ลูกโคจะเลียกิน และสุดท้ายลูกโคจะกินอาหารข้นเองได้
อาหารข้นที่ให้ลูกโค ควรเป็นอาหารข้นสำหรับลูกโค หรืออาหารสำหรับลูกหมูอ่อนซึ่งมีโปรตีน 21 % สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ หรือสหกรณ์โคนม นอกจากนี้ หากบริเวณใกล้เคียงมีแหล่งวัตถุดิบคุณภาพดี ราคาถูก ผู้เลี้ยงอาจทำการผสมอาหารข้นสำหรับลูกโคได้เอง
ตัวอย่างสูตรอาหารข้น โปรตีน 21% สำหรับลูกโค
สูตรที่ 1 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
รำละเอียด 9 กิโลกรัม
มันเส้น 36 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 23 กิโลกรัม
กากฝ้าย 30 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 2 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
มันเส้น 21 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 20 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 20 กิโลกรัม
กากฝ้าย 28 กิโลกรัม
ถั่วเขียว 9 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 3 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
ข้าวโพดป่น 29 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
กากฝ้าย 35 กิโลกรัม
ถั่วเขียว 28 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 4 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
รำละเอียด 11 กิโลกรัม
มันเส้น 19 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 10 กิโลกรัม
ปลายข้าว 10 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 23 กิโลกรัม
กากฝ้าย 25 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 5 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
รำละเอียด 30 กิโลกรัม
ข้าวโพดบด 40 กิโลกรัม
ปลาป่นจืดอย่างดี 8 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 20 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1.5 กิโลกรัม
เกลือป่น 0.5 กิโลกรัม
ไวตามินเอและดี เล็กน้อย
วันที่ 16-35 หลังคลอด จะให้น้ำนมเทียม มื้อเช้า 2 ลิตร มื้อเย็น 2 ลิตร นอกจากนี้ จะให้น้ำสะอาดใส่ถังให้ลูกโคได้กิน ให้อาหารข้นและหญ้าสดทีละน้อยและค่อย ๆ เพิ่มตามความสามารถในการกินของลูกโค
วันที่ 36 ถึงวันที่ 55 หลังคลอด
ตั้งแต่วันที่ 36 หลังคลอดลดปริมาณนมเทียมลงเหลือวันละ 2 ลิตร คือให้มื้อเช้า 2 ลิตร มื้อเย็นไม่ต้องให้ หรือให้มื้อเช้า 1 ลิตรและมื้อเย็น 1 ลิตร จนเมื่อถึงวันที่ 55 จะทำการหย่านม ส่วนอาหารข้น หญ้าสด น้ำสะอาด ให้กินเต็มที่ โดยค่อย ๆ เพิ่มตามความสามารถในการกิน
โดยปกติ การย่อยน้ำตาล จะเกิดในลำไส้เล็กเมื่อลูกโคอายุ 30 วัน ขึ้นไป โดยจะมีเอ็นไซม์สำหรับย่อยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสและแลกโตสเท่านั้น ส่วนเอ็นไซม์ชนิดอื่น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อลูกโคอายุเกิน 45 วันแล้ว ดังนั้น การให้อาหารประเภทแป้งแก่ลูกโคอายุไม่เกิน 45 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตจึงไม่มีประโยชน์ เนื่องจากขาดเอ็นไซม์ที่จะไปย่อย แต่ที่จำเป็นต้องให้อาหารข้นและหญ้าสด ตั้งแต่วันที่ 16 ก็เพื่อให้ลูกโคกินอาหารได้เองเร็วขึ้นช่วยลดต้นทุนค่าน้ำนม
จะทำการหย่านมลูกโคทันที เมื่ออายุเข้าวันที่ 55 ซึ่งลูกโคจะมีน้ำหนักประมาณ 70-90 กิโลกรัม มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมบางราย ได้ทดลองเอาหญ้าที่แม่โคสำรอกออกมาเคี้ยวเอื้อง นำมาป้อนให้ลูกโคกิน เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในกระเพาะ พบว่า ลูกโคสามารถกินหญ้าได้เร็วขึ้นและสามรถหย่านมได้เร็วขึ้น
ในการหย่านม บางฟาร์มหย่านมที่ลูกโคอายุ 55 วัน บางฟาร์มหย่านมที่ลูกโคอายุ 90 วัน และบางฟาร์มก็หย่านมที่ลูกโคอายุ 120 วัน การจะพิจารณาหย่านมที่อายุเท่าไรนั้น ขึ้นกับผู้เลี้ยงสามารถดูแลลูกโคหลังหย่านมได้ดีเพียงไร หากหย่านมเร็ว จะสามารถประหยัดค่าน้ำนมต่อตัวได้มาก แต่การเจริญเติบโตของลูกโคจะชะงัก หากหย่านมช้าลง ลูกโคจะโตเร็วแต่ค่าน้ำนมในการเลี้ยงลูกโคจะสูงขึ้น จากการทดลองพบว่า สามารถหย่านมลูกโคที่อายุ 55 วัน ซึ่งหลังหย่านมอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคจะชะงักลงบ้าง แต่ทั้งการหย่านมที่ 55 วัน และ 90 วัน น้ำหนักโคจะเท่ากันเมื่ออายุ 15 เดือน
ตาราง แสดงวันหย่านมและน้ำหนักหย่านม
-คอกลูกโค
ลูกโคอายุแรกเกิด จนถึง 55 วันแรก เป็นช่วงอายุลูกโคมีสภาพร่างกายอ่อนแอมาก จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี คอกลูกโค ควรอยู่ในบริเวณที่ผู้เลี้ยงสามารถดูแลได้ทั่วถึง
คอกลูกโคอายุแรกเกิดถึง 55 วัน แบ่งตามการเลี้ยง ได้เป็น 3 แบบ คือ
1.คอกเดี่ยว
คอกเดี่ยว ควร กว้าง 1 เมตร ยาว 1.8 เมตร พื้นคอกอาจเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูน หรือเป็นพื้นสแลตคอนกรีตเหมือนพื้นคอกหมู หากเป็นพื้นไม้หรือสแลต ควรยกสูงจากพื้นปกติ 30 เซนติเมตร เพื่อให้พื้นคอกแห้งตลอดเวลา นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีฟางปูรองพื้นกันลื่น ฟางปูรองพื้นควรเปลี่ยนทุกวัน
ภาพ ลักษณะคอกลูกโค
ผนังคอกทำด้วยเหล็กหรือไม้ก็ได้ แต่ควรโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ด้านหน้าคอกมีถังสำหรับใส่น้ำหรือนม และถังอาหารข้นรวมถึงรางหญ้า ปัจจุบัน มีหลายบริษัทผลิตคอกลูกโคสำเร็จรูปจำหน่าย
ภาพ คอกลูกโคผนังทำด้วยเหล็ก
คอกเดี่ยว จะเป็นคอกสำหรับเป็นที่อาศัยของลูกโค ซึ่งคอกเดี่ยวจะถูกคลุมด้วยโรงเรือนเพื่อกันแดดฝน โรงเรือนสำหรับใส่คอกเดี่ยว ควรระบายอากาศได้ดี ปลูกสร้างตามแนวตะวัน คือทอดยาวในทิศตะวันตก-ตะวันออก ขนาดกว้างยาวตามความเหมาะสมตามจำนวนคอกเดี่ยว มีหลังคากันแดดกันฝนได้ เมื่อฝนตกจะต้องไม่สาดถึงตัวลูกโค
คอกเดี่ยวมีข้อดีคือ สามารถป้องกันการดูดเลียกันของลูกโค ไม่เกิดก้อนขนไปอุดกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบาดเจ็บเนื่องจากเหยียบกัน ลูกโคทุกตัวได้รับอาหารเต็มที่ ไม่เกิดปัญหาตัวใหญ่ได้กินมากตัวเล็กได้กินน้อย แต่คอกเดี่ยวก็มีข้อเสียคือลงทุนสูง สิ่งที่พึงระวังสำหรับคอกเดี่ยวคือ หากพื้นคอกทำด้วยปูนหรือสแลต ลูกโคจะมีปัญหาข้อบวม ติดเชื้อ เนื่องจากเข่าลูกโคจะครูดกับพื้นคอก หนังที่เข่าจะถลอก เชื้อโรคจะเข้าไปตามรอยถลอก เกิดเป็นหนองในข้อ ดังนั้น จะต้องมีสิ่งปูรอง เช่น ฟาง เพื่อป้องกันเข่าถลอก และหากพื้นคอกทำด้วยไม้ ลูกโคจะลื่นมาก โดยเฉพาะเมื่อไม้เปียกน้ำ ลูกโคจะลื่นล้มจนเข่าช้ำ จนลุกขึ้นยืนไม่ได้ ลูกโคจะเจ็บปวดจนไม่กินอาหารและตายในที่สุด ดังนั้น คอกเดี่ยวจะต้องมีสิ่งปูรอง เช่น ฟาง รองพื้นไว้เสมอ ฟางรองพื้น ควรเปลี่ยนทุกวัน หากฟางเปียกน้ำจนชื้นและไม่เปลี่ยน ลูกโคจะปอดบวม และตาย
ภาพ คอกลูกโคผนังดัดแปลงด้วยไม้
ภาพ พื้นคอกลูกโคเป็นสแลตปูน
ภาพ อ่างน้ำ นม อาหารข้นและรางหญ้า
ลูกโคในช่วงนี้ เป็นช่วงที่อ่อนแอมาก จำเป็นต้องดูแลให้ดี โดยหลักการคือ จะทำอย่างไรก็ได้ ให้คอกลูกโคแห้ง ไม่ลื่น และสะอาดเสมอ ซึ่งบางฟาร์ม ได้พยายามดัดแปลงพื้นคอกเดี่ยวไม่ให้ลื่นและไม่ให้เปียกน้ำ โดยใช้แกลบหรือทรายเป็นพื้น พบว่าใช้งานได้ดีแต่ค่าใช้จ่ายสูง
2.คอกรวม
ในกรณีที่ไม่มีเงินทุนพอที่จะสร้างคอกเดี่ยว อาจเลี้ยงลูกโคอายุ 1-55 วัน ในคอกรวมกันก็ได้ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เนื่องจากการเลี้ยงลูกโครวมกันในคอก มีปัญหามาก ปัญหาที่พบเห็นได้ง่าย คือ
-หากให้อาหารปริมาณน้อย ลูกโคที่ตัวเล็กว่าจะไม่ได้กิน ทำให้อัตราการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ
-หากให้อาหารมากจนกินไม่หมด อาหารจะบูด ทำให้ลูกโคท้องเสีย
-ลูกโคจะดูดเลียกัน ทำให้เกิดปัญหาก้อนขนอุดในกระเพาะ
-ลูกโคจะดูดเต้านมกัน ทำให้เชื้อโรคฝังอยู่ในเต้านม เมื่อลูกโคโตเป็นโคสาว จะเกิดปัญหาเต้านมอักเสบ
แต่ข้อดี คือประหยัดแรงงานและเงินทุน
ภาพ เลี้ยงในคอกรวม
การเลี้ยงลูกโครวมกันในคอก พื้นคอกจะเป็นพื้นสแลตหรือพื้นปูนหรือพื้นดินก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นไม้ เพราะลูกโคที่เลี้ยงรวมกัน ปัสสาวะลูกโคจะทำให้พื้นไม้เปียกตลอดเวลา ซึ่งจะลื่นมาก การเลี้ยงลูกโครวมกัน ไม่ควรมีฟางปูรอง เพราะจะทำความสะอาดยาก
หากพื้นคอกเป็นพื้นปูนหรือสแลต ขนาดของคอก ควรมีขนาด 1 ตารางเมตร ต่อลูกโค 1 ตัว เช่น คอกยาว 4 เมตร กว้าง 2 เมตร คิดเป็นพื้นที่ 4x2=8 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงลูกโคได้ 8 ตัว เป็นต้น แต่หากพื้นคอกเป็นพื้นดิน ขนาดคอกควรกว้างกว่านี้ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และลดความเปียกแฉะ
พื้นคอกไม่ว่าจะเป็นดินหรือปูนหรือสแลต แต่ละคอกไม่ควรเลี้ยงลูกโคเกินกว่า 8 ตัว หากคอกมีขนาดใหญ่มาก ควรแบ่งคอกให้เล็กลง เพื่อแยกเลี้ยงลูกโคไม่เกินคอกละ 8 ตัว หากเลี้ยงรวมกันมากกว่านี้ ลูกโคตัวที่เล็กที่สุดจะแกรน อ่อนแอ และตาย
ผนังคอก อาจใช้ท่อเหล็กอาบสังกะสี หรือท่อแป๊บน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว กั้นเป็นผนังคอก หรือจะใช้ไม้กันเป็นผนังคอกก็ได้ ด้านหน้าหรือภายในคอก มีรางอาหาร อ่างน้ำ และรางหญ้า รวมถึงอ่างนม
การเลี้ยงและการจัดการโคเล็ก หรือลูกโค มีรายละเอียดปลีกย่อยมากพอสมควร เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย จะแบ่งโคเล็กหรือลูกโคเป็น 4 ระยะ คือ
1.ลูกโคแรกเกิด
2.ลูกโคอายุ 1 - 55 วัน
3.ลูกโคอายุ 56 - 120 วัน
4.ลูกโคอายุ 121 - 180 วัน
1.ลูกโคแรกเกิด
เมื่อลูกโคคลอดออกมา โดยธรรมชาติแล้วแม่โคจะเลียลูก ซึ่งการที่แม่โคเลียลูก เป็นการกระตุ้นระบบต่าง ๆ ของลูกโคให้เริ่มทำงาน เช่น ระบบการหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ การเลียลูกของแม่ ยังเป็นการกระตุ้นให้ตัวของแม่โคเอง หลั่งฮอร์โมนออกซี่โตซิน(Oxytocin) ออกมาในกระแสโลหิต ฮอร์โมนออกซี่โตซิน(Oxytocin) ที่หลั่งออกมานี้ จะกระตุ้นให้แม่โคเกิดการหลั่งน้ำนม และขับรก ซึ่งจะช่วยตัวแม่โคเองไม่ให้เกิดปัญหารกค้าง
ภาพ แม่โคเลียลูกหลังคลอด
หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้ว ลูกโคจะพยายามลุกขึ้นยืน ซึ่งโดยทั่วไปลูกโคจะใช้ความพยายามประมาณ 2-3 นาที ก็สามารถยืนได้ เมื่อลูกโคยืนได้แล้วจะเดินหาเต้านมเพื่อดูดนมซึ่งเป็นนมน้ำเหลือง
สิ่งที่มักปฏิบัติซึ่งไม่ฝืนกับธรรมชาติ และเป็นการช่วยลูกโคคือ หลังจากลูกโคคลอดออกมา สิ่งแรกที่ผู้เลี้ยงควรทำคือ พยายามช่วยให้ลูกโคหายใจ โดยการใช้ผ้าแห้งหรือฟางเช็ดตามตัวลูกโค จะเป็นการกระตุ้นการหายใจของลูกโค แต่ไม่ควรเช็ดจนแห้ง ควรปล่อยให้แม่โคได้เลียลูกบ้าง เนื่องจากเมื่อแม่โคเลียลูก จะเป็นการกระตุ้นให้แม่โคหลั่งฮอร์โมนออกซี่โตซิน(Oxytocin) ทำให้มีการหลั่งน้ำนม และรกหลุดออกจากมดลูกได้ง่าย ดังได้กล่าวมาแล้ว
จากนั้นควรสังเกตในรูจมูกของลูกโคและเปิดช่องปากดูว่ามีเมือกอุดอยู่หรือไม่ ถ้ามีต้องรีบใช้ลูกยางดูดออก เพื่อให้ลูกโคหายใจได้สะดวก จากนั้น ควรทำความสะอาดสายสะดือ โดยปกติเมื่อลูกโคคลอดออกจากท้องแม่ สายสะดือมักขาด ลูกโคบางตัว สายสะดือจะเหลือยาว บางตัวสายสะดือจะเหลือสั้น ถ้าสายสะดือเหลือยาวเกินกว่า 2 นิ้ว ให้ใช้กรรไกรที่สะอาด ตัดสายสะดือให้เหลือยาวไม่เกิน 2 นิ้ว และทำความสะอาดสายสะดือ โดยการเปิดสายสะดือออกให้เป็นท่อ แล้วเอาทิงเจอร์ไอโอดีนเทลงไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามสายสะดือ เป็นการป้องกันสะดืออักเสบ และไม่ควรผูกสายสะดือ เพื่อน้ำเหลือง หรือของเหลวต่าง ๆ ที่คั่งอยู่ในสายสะดือถูกขับออกได้ ไม่เกิดการคั่งค้างในสายสะดือ แต่ทั้งนี้ หากมีเลือดไหลจากสายสะดือและเลือดไม่หยุด หรือคอกที่ใช้เลี้ยงลูกโคสกปรก ชื้นแฉะมาก ก็จำเป็นต้องทำการมัดสายสะดือด้วยด้ายสะอาดเพื่อการห้ามเลือด หรือป้องกันเชื้อโรคเข้าไปในสายสะดือ
ภาพ เปิดปากลูกโคเพื่อกำจัดเมือกที่อุดในปาก
หลังจากนั้น แยกลูกไปเลี้ยงในคอกอนุบาล และนำแม่โคไปรีดนม น้ำนมของแม่โคหลังคลอดลูกใหม่ ๆ จะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่านมน้ำเหลือง (Colostrum) นมน้ำเหลืองจะเป็นอาหารและยาของลูกโคแรกเกิด นมน้ำเหลืองจะถูกสร้างในเต้านมของแม่โคก่อนการคลอด 2-3 วัน เพื่อเตรียมไว้ให้ลูกที่คลอดออกมาได้กิน
ภาพ ป้อนนมลูกโค
เมื่อรีดนมแม่แล้ว แบ่งนมที่รีดได้จำนวน 2 ลิตร ใส่ขวดนำไปป้อนให้ลูกโค(ขวดนมสำหรับลูกโค จะมีความจุประมาณ 2 ลิตร ซึ่งหาซื้อได้ตามสหกรณ์โคนมทั่วไป) ส่วนนมที่เหลือใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น แช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็ง จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายเดือน หากมีลูกโคเกิดใหม่และแม่ตายก่อนได้กินนมน้ำเหลือง สามารถใช้นมน้ำเหลืองที่แช่แข็งนี้ นำมาละลายโดยแช่ในน้ำอุ่น ใช้ป้อนลูกโคเกิดใหม่ตัวอื่น ๆ ได้ การละลายนมน้ำเหลืองแช่แข็งอย่าใช้การต้ม หรืออย่าใช้ความร้อนสูง ๆ เพราะความร้อนสูง จะทำลายภูมิคุ้มกันที่เป็นโปรตีนในน้ำนม
องค์ประกอบของนมน้ำเหลือง จะไม่เหมือนกับนมธรรมชาติ ลูกโคควรได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ทันทีภายหลังคลอดจำนวน 2-3.5 ลิตร และ 8 ชั่วโมงต่อมาอีก 2-3.5 ลิตร ถ้าลูกโคแรกคลอดไม่ได้รับนมน้ำเหลือง จะมีร่างกายอ่อนแอ และตายในที่สุด เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่ลูกโคคลอดก่อนกำหนด นมน้ำเหลืองที่รีดได้ จะข้นมากซึ่งลูกโคจะไม่ยอมกิน แก้ไขได้โดยละลายนมน้ำเหลืองด้วยน้ำอุ่นในอัตราส่วน 1 : 1 และป้อนลูกโค
ตารางเปรียบเทียบนมน้ำเหลืองและนมปกติ
ส่วนประกอบ | นมน้ำเหลือง | นมปกติ |
ของแข็งทั้งหมด(Total solid) | 28.3 | 13 |
ไขมัน % (Fat) | 9.8 | 4.7 |
ของแข็งไม่รวมไขมัน % (Solid not fat) | 18.5 | 8.5 |
โปรตีน % (Protein) | 14.3 | 3.3 |
เคซีน % | 5.2 | 2.6 |
อัลบูมิน % | 1.5 | 0.47 |
โกลบูลิน % | 5.5-6.8 | 0.09 |
น้ำตาลแลกโตส % (Lactose) | 2.5 | 4.8 |
เถ้า % | 0.97 | 0.75 |
แคลเซี่ยม % | 0.26 | 0.13 |
แมกนีเซี่ยม % | 0.04 | 0.01 |
โพแทสเซี่ยม % | 0.14 | 0.15 |
โซเดี่ยม % | 0.07 | 0.04 |
ฟอสฟอรัส % | 0.24 | 0.11 |
คลอรีน % | 0.12 | 0.07 |
เหล็ก มิลลิกรัม/ก.ก. | 2.0 | 0.1-0.7 |
ทองแดง มิลลิกรัม/ก.ก. | 0.6 | 0.1-0.3 |
โคบอลท์ มิลลิกรัม/ก.ก. | 5.0 | 0.5-0.6 |
แมงกานีส มิลลิกรัม/100 กรัม | 0.016 | 0.003 |
แคโรทีน มิลลิกรัม/ก.ก. | 0.9-1.6 | 0.25 |
วิตะมินเอ มิลลิกรัม/ก.ก. | 1.5 | 0.2 |
วิตะมินดี มิลลิกรัม/ก.ก. | 1.0 | 0.5 |
ไวตามินอี มิลลิกรัม/ก.ก. | 3.6 | 0.7 |
ปัจจัย 2 ประการ ที่มีผลต่อคุณภาพนมน้ำเหลือง คือ
1.ความเข้มข้นของแอนติบอดีในนมน้ำเหลือง
2.การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในนมน้ำเหลือง
นมน้ำเหลืองที่มีคุณภาพดี ควรมีแอนติบอดี หรืออิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) อย่างน้อย 50 กรัม/ลิตร และมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียน้อย
อิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ในนมน้ำเหลือง จะมีมากหรือน้อย ขึ้นกับปริมาณนมน้ำเหลือง อายุแม่โค สภาวะภูมิคุ้มกันของแม่โค อาหารที่แม่โคได้รับในช่วงดรายก่อนคลอด และพันธุ์โค
แม่โคที่ให้นมน้ำเหลืองปริมาณมาก หรือมากกว่า 8 ลิตร นมน้ำเหลืองจะมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลินจี (Immuno globulin-G) ต่ำ เนื่องจากถูกเจือจางด้วยน้ำนมในปริมาณมาก โคพันธุ์เจอร์ซี่ ให้นมน้ำเหลืองน้อยกว่าโคพันธุ์อื่น นมน้ำเหลืองของโคพันธุ์เจอร์ซี่ จึงมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) สูงกว่าโคพันธุ์อื่น หรือโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชียน เป็นโคที่ให้นมน้ำเหลืองปริมาณมากกว่าโคพันธุ์อื่น จึงมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ต่ำกว่าโคพันธุ์อื่น
อายุแม่โค ก็มีผลต่อความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) คือ แม่โคอายุมาก มักผ่านการรับหรือสัมผัสกับเชื้อต่าง ๆ มาก แม่โคก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้มาก ส่วนแม่โคอายุน้อย มักผ่านการรับหรือสัมผัสกับเชื้อต่าง ๆ น้อย แม่โคก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อย ดังนั้น หากแม่โคอายุมากกว่า นมน้ำเหลืองก็จะมีความเข้มข้นของอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) สูงกว่า
อาหารที่ให้แม่โคในช่วงแห้งนม ก็มีผลคือ แม่โคที่ในช่วงแห้งนม หากได้รับอาหารพลังงานและโปรตีนเพียงพอ นมน้ำเหลืองจะมีคุณภาพสูงกว่าแม่โคที่ในช่วงแห้งนมได้รับอาหารพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ
ลูกโคแรกเกิด จะมี แอนติบอดี (Antibody) หรือภูมิต้านทานโรคในกระแสเลือด ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแอนติบอดีที่ต้องมี เพื่อสร้างความต้านทานโรค ดังนั้น ลูกโคควรได้รับนมน้ำเหลืองโดยเร็ว เพื่อเพิ่มแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ถ้าในกรณีที่แม่โคตายขณะคลอด ไม่มีนมน้ำเหลืองให้ลูกกินเลย ผู้เลี้ยงต้องเอานมน้ำเหลืองจากแม่อื่นที่แช่แข็งไว้มาละลายให้ลูกโคกิน หรือหากไม่มีนมน้ำเลืองที่เก็บสำรองไว้ ให้ใช้น้ำนมปกติผสมด้วยยาปฏิชีวนะและไวตามินเอละลายให้ลูกโคกิน โดยให้ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอเตตร้าไซคลิน(Chlortetracycline) วันละ 250 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วัน จนอาการลูกโคดีขึ้น เมื่ออาการของลูกโคดีขึ้นจึงหยุดยา แต่เท่าที่พบส่วนใหญ่แล้วลูกโคที่ไม่ได้กินนมน้ำเหลืองมักตายในที่สุด
ในช่วง 24 ชั่วแมงแรกหลังคลอด ลูกโคสามารถดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ผ่านผนังสำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ไม่ถูกทำลายโดยน้ำย่อยจากกระเพาะของลูกโค แต่หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว ผนังลำไส้จะไม่สามารถดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ได้อีกต่อไป น้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารของลูกโคจะเริ่มทำงาน และทำการย่อยอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ให้เสียสภาพไป
หากให้ลูกโคนมน้ำเหลืองหลังคลอด 6 ชั่วโมง ความสามารถในการดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ของลำไส้ลูกโคจะลดลง 30% และหากให้ลูกโคนมน้ำเหลืองหลังคลอด 24 ชั่วโมง ความสามารถในการดูดซึมอิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) จะลดลงกว่า 90% แต่ทั้งนี้ ลูกโคที่รับนมน้ำเหลือง หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว อิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) จะไปเคลือบผนังลำไส้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเกาะยึดผนังลำไส้ได้ แต่อิมมูนโนโกลบูลิน-จี (Immuno globulin-G) ต้องเคลือบผนังลำไส้ก่อนที่เชื้อแบคทีเรียจะเกาะ หากเชื้อแบคทีเรียเกาะผนังลำไส้แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์
ภาพ กราฟประสิทธิภาพการดูดซึมนมน้ำเลืองของลูกโคตามอายุ
โดยสรุป คือ ลูกโคเกิดใหม่ จะต้องได้กินนมน้ำเหลืองทันที หากล่าช้าออกไป ความสามารถในการดูดซึมนมน้ำเหลืองของลูกโคจะลดลง ลูกโคที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลืองส่วนใหญ่ตาย
2.ลูกโคอายุ 1 - 55 วัน
ลูกโคแรกเกิด จะมีน้ำหนักประมาณ 25-40 กิโลกรัม ลูกโคอายุแรกเกิดจนถึง 55 วัน เป็นช่วงที่กระเพาะหมักยังไม่ทำงาน หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นอาหารหลักของลูกโคคือน้ำนม ลูกโคควรได้รับน้ำนมจากแม่ในระยะ 7 วันแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรไม่สามารถส่งน้ำนมไปจำหน่ายได้อยู่แล้ว
-อาหารลูกโค
ในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด
ช่วง 3 วันแรก หลังคลอด ลูกโคควรได้กินนมแม่วันละ 10 % ของน้ำหนักตัว หรือ 4 ลิตร โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เช้าและเย็น มื้อเช้าจำนวน 2 ลิตร มื้อเย็นจำนวน 2 ลิตร โดยใส่ขวดนมสำหรับลูกโคแล้วนำไปป้อน
วันที่ 3-7 หลังคลอด
วันที่ 3-7 หลังคลอด ลูกโคควรได้กินนมแม่วันละ 10 % ของน้ำหนักตัว หรือ 4 ลิตร โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เช้าและเย็น มื้อเช้าจำนวน 2 ลิตร มื้อเย็นจำนวน 2 ลิตร โดยใส่อ่างหรือถังให้ลูกโคกินเพื่อเป็นการประหยัดแรงงาน
ถังนมสำหรับลูกโค จะเป็นถังลักษณะอย่างไรก็ได้ แต่ให้ง่ายกับการก้มลงกิน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ถังอลูมิเนียมปากกว้างที่ใช้รองรับน้ำนมในการรีดนมด้วยมือ แรก ๆ ลูกโคจะกินนมจากถังไม่เป็น ต้องฝึกโดยการให้ผู้เลี้ยงใช้นิ้วมือที่สะอาด 2 หรือ 3 นิ้วจุ่มลงในถังที่มีน้ำนม และเอานิ้วให้ลูกโคดูด เมื่อลูกโคดูดนิ้ว ก็ค่อย ๆ จุ่มนิ้วลงในถังนมที่มีน้ำนมอยู่ ลูกโคจะดูดนมผ่านร่องนิ้วมือ จากนั้นค่อย ๆ ดึงมือออก ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง ลูกโคจะดูดนมจากถังเองได้ ซึ่งต่อไป เวลาเลี้ยงก็เอาน้ำนมเทใส่ถังหรืออ่างตามปริมาณที่กำหนด ลูกโคจะก้มลงกินเอง
ภาพ ถังน้ำและถังนมสำหรับลูกโค
การให้นมวิธีนี้สะดวก รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ลูกโคจะต้องก้มลงดูดน้ำนมในถัง ซึ่งผิดธรรมชาติ เพราะโดยปกติการดูดนมจากเต้านม ลูกโคจะเงยหน้าดูดนม เมื่อลูกโคเงยหน้าดูดนม ร่องหลอดคอ (Esophageal groove) ของลูกโคจะห่อตัว น้ำนมจะไหลผ่านปาก หลอดอาหาร และไปถึงกระเพาะแท้(Abomasum)ได้โดยตรง ไม่ตกลงไปในกระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมัก แต่ถ้าลูกโคก้มกินนมในถัง ร่องหลอดคอจะไม่ห่อตัวหรือห่อตัวไม่สนิท ทำให้น้ำนมอาจตกค้างที่กระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมัก ซึ่งภายในกระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมักนี้ไม่มีเอ็นไซม์สำหรับย่อยน้ำนม น้ำนมที่ตกค้างในกระเพาะรูเมนหรือกระเพาะหมัก มักจะบูด ทำให้ลูกโคท้องเสีย แต่วิธีการให้ลูกโคกินนมจากถัง ก็ยังได้รับความนิยม เนื่องจากลงทุนน้อยและประหยัดแรงงาน แต่ก็มีบางฟาร์ม ที่ใช้ถังพลาสติกต่อท่อติดจุกนมเทียมให้ลูกโคได้ดูดกิน
ภาพ ถังนมลูกโคติดจุกนม
วันที่ 8-15 หลังคลอด
วันที่ 8 หลังคลอด จะเริ่มใช้นมเทียมให้ลูกโคกินแทนนมแม่ คือ เมื่อลูกโคกินนมแม่จนครบ 7 วัน จะสามารถลดต้นทุนค่าน้ำนมโดยให้ลูกโคกินนมเทียม แทนน้ำนมจากแม่ ซึ่งน้ำนมจากแม่โคที่รีดได้ในวันที่ 8 หลังคลอด มักจะส่งไปขายได้
นมเทียม เป็นผลพลอยได้จากการแยกเนยออกจากน้ำนม ซึ่งจะเหลือเป็นหางนม ที่ยังมีส่วนสำคัญในการเป็นอาหารของลูกโค เอาหางนมนี้ มาทำการเติมไขมัน และไวตามินรวมถึงยาปฏิชีวนะที่จำเป็น จากนั้นไปทำให้แห้ง ก็จะกลายเป็นนมผงเลี้ยงลูกโค นมผงสำหรับละลายน้ำเป็นนมเทียมใช้เลี้ยงลูกโค มีหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อ ราคาเฉลี่ยปัจจุบันประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท อัตราส่วนการละลายน้ำ คือนมผง 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 8 ลิตร จะได้นมเทียม 8 ลิตร
ภาพ ตัวอย่างนมผงเลี้ยงลูกโค
นมเทียมที่ละลายให้ลูกโคกิน ควรคำนวณอัตราส่วนการละลาย โดยละลายสำหรับพอกินในแต่ละมื้อไม่ควรผสมเผื่อมื้ออื่นล่วงหน้า เพราะจะทำให้นมเสียหรือคุณค่าทางอาหารลดลง เช่น หากใช้นมยี่ห้อที่อัตราส่วนการละลาย 1:8 ก็จะใช้นมผงเพียง 250 กรัม ละลายน้ำ 2 ลิตร สำหรับลูกโคต่อตัวต่อมื้อ ปัจจุบัน บริษัทจำหน่วยนมเทียม ได้ทำช้อนตวงนมแถมมาในถุงนมเทียมด้วย ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราส่วนในการตวงด้วยช้อนดูได้จากข้างถุง
การเตรียมน้ำนมจากนมผงเลี้ยงลูกโค ทำได้โดยการ ตวงนมเทียมใส่ถังนมของลูกโค จากนั้นเติมน้ำอุ่นครึ่งหนึ่ง ใช้ไม้คนให้ผงนมละลายจนหมด หลังจากผงนมละลายหมดแล้ว เติมน้ำลงไปจนมีปริมาตรตามที่ต้องการ นมหลังละลายแล้ว ควรมีอุณหภูมิ 39-40 องศาเซลเซียส ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิน้ำนมที่รีดได้จากเต้านมแม่โค และนมเทียมควรมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 20% ข้อควรระวังคือ นมผงจะต้องละลายน้ำจนหมด หากนมผงละลายไม่หมดจะทำให้ลูกโคท้องเสีย
องค์ประกอบของนมเทียม
หางนมผง (Skim milk powder) 78-82 %
ไขมัน จากพืชหรือสัตว์ 17-20 %
Lecithin จากถั่วเหลือง 1-2 %
เสริมแร่ธาตุและวิตะมิน
แมกนีเซี่ยม 20 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
เหล็ก 75-100 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
ทองแดง 40 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
โคบอลท์ 100 ไมโครกรัม / กิโลกรัม
สังกะสี 12 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
ไอโอดีน 120 ไมโครกรัม / กิโลกรัม
วิตะมินเอ 12,000 หน่วย / กิโลกรัม
วิตะมินดี 1,800 หน่วย / กิโลกรัม
วิตะมินอี 20 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
วิตะมินบี 12 3 ไมโครกรัม / กิโลกรัม
นมเทียมที่ดี ควรมีไขมัน 15-20 % ของน้ำหนักแห้ง และไขมันดังกล่าวควรเติม 3.3 % เลคซิทิน ก่อนผ่านการโฮโมจิไนซ์ และการผลิตเป็นนมผงควรใช้วิธีสเปร์ดราย พร้อมทั้งเสริมวิตะมิน อี เพื่อกันหืน
นอกจากใช้นมเทียมแทนน้ำนมแม่เพื่อเลี้ยงลูกโคแล้ว ยังสามารถใช้นมถั่วเหลืองเลี้ยงลูกโคได้ด้วย ในกรณีที่ขาดแคลนนมเทียม แต่การใช้นมถั่วเหลืองเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด มักพบว่าลูกโคไม่ค่อยโต
ลูกโคอายุ 8-15 วัน ควรได้รับนมเทียม วันละ 4 ลิตร โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ เช้า-เย็น มื้อละ 2 ลิตร เช่นเดียวกับนมแม่
วันที่ 16-35 วันหลังคลอด
วันที่ 16 จะเริ่มให้อาหารข้นและหญ้าสดโดยเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความสามารถในการกินแต่ละวัน การให้อาหารข้นจะต้องทำการฝึกให้ลูกโคกิน ส่วนหญ้าสดลูกโคจะเคี้ยวกินเล่น สุดท้ายจะกินได้เอง
การฝึกให้กินอาหารข้น จะเริ่มจากนำอาหารข้นปริมาณเล็กน้อย ใส่ลงในถังนมที่ลูกโคกินจนน้ำนมเหลือติดก้นถัง อาหารข้นจะผสมกับน้ำนม จากนั้นป้อนให้ลูกโคกิน โดยป้อนใส่ปากทีละน้อยและบางส่วนป้ายที่สันจมูก ลูกโคจะเลียกิน และสุดท้ายลูกโคจะกินอาหารข้นเองได้
อาหารข้นที่ให้ลูกโค ควรเป็นอาหารข้นสำหรับลูกโค หรืออาหารสำหรับลูกหมูอ่อนซึ่งมีโปรตีน 21 % สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ หรือสหกรณ์โคนม นอกจากนี้ หากบริเวณใกล้เคียงมีแหล่งวัตถุดิบคุณภาพดี ราคาถูก ผู้เลี้ยงอาจทำการผสมอาหารข้นสำหรับลูกโคได้เอง
ตัวอย่างสูตรอาหารข้น โปรตีน 21% สำหรับลูกโค
สูตรที่ 1 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
รำละเอียด 9 กิโลกรัม
มันเส้น 36 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 23 กิโลกรัม
กากฝ้าย 30 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 2 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
มันเส้น 21 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 20 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 20 กิโลกรัม
กากฝ้าย 28 กิโลกรัม
ถั่วเขียว 9 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 3 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
ข้าวโพดป่น 29 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
กากฝ้าย 35 กิโลกรัม
ถั่วเขียว 28 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 4 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
รำละเอียด 11 กิโลกรัม
มันเส้น 19 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 10 กิโลกรัม
ปลายข้าว 10 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 23 กิโลกรัม
กากฝ้าย 25 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1 กิโลกรัม
เกลือป่น 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 5 ในอาหารข้น 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย
รำละเอียด 30 กิโลกรัม
ข้าวโพดบด 40 กิโลกรัม
ปลาป่นจืดอย่างดี 8 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 20 กิโลกรัม
กระดูกป่น 1.5 กิโลกรัม
เกลือป่น 0.5 กิโลกรัม
ไวตามินเอและดี เล็กน้อย
วันที่ 16-35 หลังคลอด จะให้น้ำนมเทียม มื้อเช้า 2 ลิตร มื้อเย็น 2 ลิตร นอกจากนี้ จะให้น้ำสะอาดใส่ถังให้ลูกโคได้กิน ให้อาหารข้นและหญ้าสดทีละน้อยและค่อย ๆ เพิ่มตามความสามารถในการกินของลูกโค
วันที่ 36 ถึงวันที่ 55 หลังคลอด
ตั้งแต่วันที่ 36 หลังคลอดลดปริมาณนมเทียมลงเหลือวันละ 2 ลิตร คือให้มื้อเช้า 2 ลิตร มื้อเย็นไม่ต้องให้ หรือให้มื้อเช้า 1 ลิตรและมื้อเย็น 1 ลิตร จนเมื่อถึงวันที่ 55 จะทำการหย่านม ส่วนอาหารข้น หญ้าสด น้ำสะอาด ให้กินเต็มที่ โดยค่อย ๆ เพิ่มตามความสามารถในการกิน
โดยปกติ การย่อยน้ำตาล จะเกิดในลำไส้เล็กเมื่อลูกโคอายุ 30 วัน ขึ้นไป โดยจะมีเอ็นไซม์สำหรับย่อยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสและแลกโตสเท่านั้น ส่วนเอ็นไซม์ชนิดอื่น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อลูกโคอายุเกิน 45 วันแล้ว ดังนั้น การให้อาหารประเภทแป้งแก่ลูกโคอายุไม่เกิน 45 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตจึงไม่มีประโยชน์ เนื่องจากขาดเอ็นไซม์ที่จะไปย่อย แต่ที่จำเป็นต้องให้อาหารข้นและหญ้าสด ตั้งแต่วันที่ 16 ก็เพื่อให้ลูกโคกินอาหารได้เองเร็วขึ้นช่วยลดต้นทุนค่าน้ำนม
จะทำการหย่านมลูกโคทันที เมื่ออายุเข้าวันที่ 55 ซึ่งลูกโคจะมีน้ำหนักประมาณ 70-90 กิโลกรัม มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมบางราย ได้ทดลองเอาหญ้าที่แม่โคสำรอกออกมาเคี้ยวเอื้อง นำมาป้อนให้ลูกโคกิน เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในกระเพาะ พบว่า ลูกโคสามารถกินหญ้าได้เร็วขึ้นและสามรถหย่านมได้เร็วขึ้น
ในการหย่านม บางฟาร์มหย่านมที่ลูกโคอายุ 55 วัน บางฟาร์มหย่านมที่ลูกโคอายุ 90 วัน และบางฟาร์มก็หย่านมที่ลูกโคอายุ 120 วัน การจะพิจารณาหย่านมที่อายุเท่าไรนั้น ขึ้นกับผู้เลี้ยงสามารถดูแลลูกโคหลังหย่านมได้ดีเพียงไร หากหย่านมเร็ว จะสามารถประหยัดค่าน้ำนมต่อตัวได้มาก แต่การเจริญเติบโตของลูกโคจะชะงัก หากหย่านมช้าลง ลูกโคจะโตเร็วแต่ค่าน้ำนมในการเลี้ยงลูกโคจะสูงขึ้น จากการทดลองพบว่า สามารถหย่านมลูกโคที่อายุ 55 วัน ซึ่งหลังหย่านมอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคจะชะงักลงบ้าง แต่ทั้งการหย่านมที่ 55 วัน และ 90 วัน น้ำหนักโคจะเท่ากันเมื่ออายุ 15 เดือน
ตาราง แสดงวันหย่านมและน้ำหนักหย่านม
วันหย่านม | น้ำหนักหย่านม(กิโลกรัม) |
55 วัน | 70-90 |
90 วัน | 90-120 |
120 | 120-140 |
-คอกลูกโค
ลูกโคอายุแรกเกิด จนถึง 55 วันแรก เป็นช่วงอายุลูกโคมีสภาพร่างกายอ่อนแอมาก จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี คอกลูกโค ควรอยู่ในบริเวณที่ผู้เลี้ยงสามารถดูแลได้ทั่วถึง
คอกลูกโคอายุแรกเกิดถึง 55 วัน แบ่งตามการเลี้ยง ได้เป็น 3 แบบ คือ
1.คอกเดี่ยว
คอกเดี่ยว ควร กว้าง 1 เมตร ยาว 1.8 เมตร พื้นคอกอาจเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูน หรือเป็นพื้นสแลตคอนกรีตเหมือนพื้นคอกหมู หากเป็นพื้นไม้หรือสแลต ควรยกสูงจากพื้นปกติ 30 เซนติเมตร เพื่อให้พื้นคอกแห้งตลอดเวลา นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีฟางปูรองพื้นกันลื่น ฟางปูรองพื้นควรเปลี่ยนทุกวัน
ภาพ ลักษณะคอกลูกโค
ผนังคอกทำด้วยเหล็กหรือไม้ก็ได้ แต่ควรโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ด้านหน้าคอกมีถังสำหรับใส่น้ำหรือนม และถังอาหารข้นรวมถึงรางหญ้า ปัจจุบัน มีหลายบริษัทผลิตคอกลูกโคสำเร็จรูปจำหน่าย
ภาพ คอกลูกโคผนังทำด้วยเหล็ก
คอกเดี่ยว จะเป็นคอกสำหรับเป็นที่อาศัยของลูกโค ซึ่งคอกเดี่ยวจะถูกคลุมด้วยโรงเรือนเพื่อกันแดดฝน โรงเรือนสำหรับใส่คอกเดี่ยว ควรระบายอากาศได้ดี ปลูกสร้างตามแนวตะวัน คือทอดยาวในทิศตะวันตก-ตะวันออก ขนาดกว้างยาวตามความเหมาะสมตามจำนวนคอกเดี่ยว มีหลังคากันแดดกันฝนได้ เมื่อฝนตกจะต้องไม่สาดถึงตัวลูกโค
คอกเดี่ยวมีข้อดีคือ สามารถป้องกันการดูดเลียกันของลูกโค ไม่เกิดก้อนขนไปอุดกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบาดเจ็บเนื่องจากเหยียบกัน ลูกโคทุกตัวได้รับอาหารเต็มที่ ไม่เกิดปัญหาตัวใหญ่ได้กินมากตัวเล็กได้กินน้อย แต่คอกเดี่ยวก็มีข้อเสียคือลงทุนสูง สิ่งที่พึงระวังสำหรับคอกเดี่ยวคือ หากพื้นคอกทำด้วยปูนหรือสแลต ลูกโคจะมีปัญหาข้อบวม ติดเชื้อ เนื่องจากเข่าลูกโคจะครูดกับพื้นคอก หนังที่เข่าจะถลอก เชื้อโรคจะเข้าไปตามรอยถลอก เกิดเป็นหนองในข้อ ดังนั้น จะต้องมีสิ่งปูรอง เช่น ฟาง เพื่อป้องกันเข่าถลอก และหากพื้นคอกทำด้วยไม้ ลูกโคจะลื่นมาก โดยเฉพาะเมื่อไม้เปียกน้ำ ลูกโคจะลื่นล้มจนเข่าช้ำ จนลุกขึ้นยืนไม่ได้ ลูกโคจะเจ็บปวดจนไม่กินอาหารและตายในที่สุด ดังนั้น คอกเดี่ยวจะต้องมีสิ่งปูรอง เช่น ฟาง รองพื้นไว้เสมอ ฟางรองพื้น ควรเปลี่ยนทุกวัน หากฟางเปียกน้ำจนชื้นและไม่เปลี่ยน ลูกโคจะปอดบวม และตาย
ภาพ คอกลูกโคผนังดัดแปลงด้วยไม้
ภาพ พื้นคอกลูกโคเป็นสแลตปูน
ภาพ อ่างน้ำ นม อาหารข้นและรางหญ้า
ลูกโคในช่วงนี้ เป็นช่วงที่อ่อนแอมาก จำเป็นต้องดูแลให้ดี โดยหลักการคือ จะทำอย่างไรก็ได้ ให้คอกลูกโคแห้ง ไม่ลื่น และสะอาดเสมอ ซึ่งบางฟาร์ม ได้พยายามดัดแปลงพื้นคอกเดี่ยวไม่ให้ลื่นและไม่ให้เปียกน้ำ โดยใช้แกลบหรือทรายเป็นพื้น พบว่าใช้งานได้ดีแต่ค่าใช้จ่ายสูง
2.คอกรวม
ในกรณีที่ไม่มีเงินทุนพอที่จะสร้างคอกเดี่ยว อาจเลี้ยงลูกโคอายุ 1-55 วัน ในคอกรวมกันก็ได้ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เนื่องจากการเลี้ยงลูกโครวมกันในคอก มีปัญหามาก ปัญหาที่พบเห็นได้ง่าย คือ
-หากให้อาหารปริมาณน้อย ลูกโคที่ตัวเล็กว่าจะไม่ได้กิน ทำให้อัตราการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ
-หากให้อาหารมากจนกินไม่หมด อาหารจะบูด ทำให้ลูกโคท้องเสีย
-ลูกโคจะดูดเลียกัน ทำให้เกิดปัญหาก้อนขนอุดในกระเพาะ
-ลูกโคจะดูดเต้านมกัน ทำให้เชื้อโรคฝังอยู่ในเต้านม เมื่อลูกโคโตเป็นโคสาว จะเกิดปัญหาเต้านมอักเสบ
แต่ข้อดี คือประหยัดแรงงานและเงินทุน
ภาพ เลี้ยงในคอกรวม
การเลี้ยงลูกโครวมกันในคอก พื้นคอกจะเป็นพื้นสแลตหรือพื้นปูนหรือพื้นดินก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นไม้ เพราะลูกโคที่เลี้ยงรวมกัน ปัสสาวะลูกโคจะทำให้พื้นไม้เปียกตลอดเวลา ซึ่งจะลื่นมาก การเลี้ยงลูกโครวมกัน ไม่ควรมีฟางปูรอง เพราะจะทำความสะอาดยาก
หากพื้นคอกเป็นพื้นปูนหรือสแลต ขนาดของคอก ควรมีขนาด 1 ตารางเมตร ต่อลูกโค 1 ตัว เช่น คอกยาว 4 เมตร กว้าง 2 เมตร คิดเป็นพื้นที่ 4x2=8 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงลูกโคได้ 8 ตัว เป็นต้น แต่หากพื้นคอกเป็นพื้นดิน ขนาดคอกควรกว้างกว่านี้ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และลดความเปียกแฉะ
พื้นคอกไม่ว่าจะเป็นดินหรือปูนหรือสแลต แต่ละคอกไม่ควรเลี้ยงลูกโคเกินกว่า 8 ตัว หากคอกมีขนาดใหญ่มาก ควรแบ่งคอกให้เล็กลง เพื่อแยกเลี้ยงลูกโคไม่เกินคอกละ 8 ตัว หากเลี้ยงรวมกันมากกว่านี้ ลูกโคตัวที่เล็กที่สุดจะแกรน อ่อนแอ และตาย
ผนังคอก อาจใช้ท่อเหล็กอาบสังกะสี หรือท่อแป๊บน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว กั้นเป็นผนังคอก หรือจะใช้ไม้กันเป็นผนังคอกก็ได้ ด้านหน้าหรือภายในคอก มีรางอาหาร อ่างน้ำ และรางหญ้า รวมถึงอ่างนม